หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร หรือที่นิยมเรียกอย่างสั้นว่า หลัก 6 ประการ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1[1] และถือเป็นนโยบายของคณะกรรมการราษฎรชุดแรก ในระบอบประชาธิปไตยของประเทศสยาม ซึ่งนำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา คณะกรรมการราษฎรนี้ ไม่มีการแถลงนโยบาย การบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่ถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใช้ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลหลัก 6 ประการของคณะราษฎรซึ่งสรุปคำใจความหลักได้ว่า "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา"[2] นี้ ได้รับการอ้างอิงหลายครั้งในงานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และรัฐพิธีในสมัยนั้นโดยในทางสถาปัตยกรรมนั้น เช่นที่พบในรูปแบบของเสา 6 ต้นในอาคารหรือซุ้มต่าง ๆ บัวกลุ่ม 6 ชั้นที่เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน (ต่างจากการทำบัวกลุ่มของเจดีย์ตามประเพณี ที่ต้องเป็นเลขคี่เพื่อให้เป็นมงคล)[3] หรือการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม[2][4]ในทางศิลปกรรมนั้น เช่นที่พบในงานประติมากรรมชื่อ เลี้ยงช้างน้อยด้วยอ้อยหก ของ ผิว ทิมสา ที่เป็นรูปแม่ช้างเอางวงรัดอ้อย 6 ท่อนอยู่ โดยมีลูกช้างหลายตัวอยู่รอบ ๆ สื่อถึงประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นด้วยหลัก 6 ประการหรือรูปปั้น หลักหกยกสยาม โดย อินตา ศิริงาม ซึ่งทั้งสองชิ้นนี้ ได้รับรางวัลใน "การประกวดประณีตศิลปกรรม" พ.ศ. 2480 ซึ่งจัดขึ้นในงานฉลองรัฐธรรมนูญ[4] ดูเพิ่มที่ ศิลปะคณะราษฎรส่วนในรัฐพิธีสมัยนั้น ก็นิยมการประดับธง 6 ผืนพร้อมกับประดับพานรัฐธรรมนูญ หรือสิ่งอื่นใดที่จะสื่อถึงรัฐธรรมนูญและหลัก 6 ประการ[3]

ใกล้เคียง

หลักสูตร หลักระวังไว้ก่อน หลักการใช้กำลัง หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย หลักฐานโดยเรื่องเล่า หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน หลักการอิสลาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา หลักข้อเชื่อของอัครทูต หลักฐานเชิงประสบการณ์